การคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test) ด้วย Excel VBA(27,447 views)

ติงศักดิ์  เหลืองเจริญทิพย์

ฝ่ายห้องปฏิบัติการวิศวกรรม 2   ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Email: tingsak@sut.ac.th

1. บทนำ
ในการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test) จะต้องทดลองบดอัดตัวอย่างดินด้วยวิธีการตามมาตรฐาน (เช่น ASTM D698    ASTM D1557 เป็นต้น) ที่ปริมาณความชื้นต่างๆกันประมาณ 4-5 ค่า คำนวณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของดินในการบดอัดตัวอย่างดินแต่ละครั้ง แล้วพล็อตเส้นโค้งเรียบผ่านจุดที่ได้จากการทดลอง เพื่อหาความหนาแน่นแห้งสูงสุด (maximum dry density) และความชื้นที่เหมาะสม (optimum water content) ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 เส้นโค้งการบดอัด (Compaction curve)

รูปที่ 1 เส้นโค้งการบดอัด (Compaction curve)

สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการพล็อตเส้นโค้งการบดอัด (Compaction curve) แล้วอ่านค่าความหนาแน่นแห้งสูงสุดและความชื้นที่เหมาะสมได้จากกราฟโดยตรง ซึ่งไม่สะดวกในการอ่านค่านัก หรือพล็อตเส้นโค้งการบดอัดโดยการใช้เส้นแนวโน้ม (trend line) จากนั้นคำนวณความหนาแน่นแห้งสูงสุดและความชื้นที่เหมาะสมจากสมการของเส้นแนวโน้มที่ได้จากโปรแกรม Microsoft Excel  แต่ในบางกรณีเส้นแนวโน้มไม่ผ่านจุดที่ได้จากการทดลองทุกจุด อีกทั้งจำนวนเลขนัยสำคัญของตัวเลขในสมการของเส้นแนวโน้มมีจำนวนน้อย  ทำให้ผลการคำนวณมีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก

จากบทความ เทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft Excel คำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test)” ของผู้เขียนที่ผ่านมานั้น  ได้นำเสนอเทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการพล็อตเส้นโค้งการบดอัด  หาความหนาแน่นแห้งสูงสุดและความชื้นที่เหมาะสม โดยการประมาณค่าในช่วงด้วยวิธีผลต่างจากการแบ่งย่อยของนิวตัน (Newton’s divided-difference Interpolating Polynomials) ซึ่งการใช้สูตรและการสร้างสมการคำนวณ แต่ยังใช้งานไม่สะดวกหรือบางครั้งไม่สามารถดำเนินการบางอย่างได้ เช่น การคำนวณในกรณีที่จำนวนความชื้นที่ทดสอบเป็น 4 หรือ 5 ค่า  การตรวจสอบค่าความชื้นว่าเรียงจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือไม่ เป็นต้น

บทความนี้จึงขอนำเสนอ การคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test) ด้วย Excel VBAโดยการเขียนโปรแกรม Visual Basic for Applications (VBA) ในการคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน เพื่อพล็อตเส้นโค้งการบดอัด  หาความหนาแน่นแห้งสูงสุดและความชื้นที่เหมาะสม โดยยังคงใช้การประมาณค่าในช่วงด้วยวิธีผลต่างจากการแบ่งย่อยของนิวตัน (Newton’s divided-difference Interpolating Polynomials) การเขียนโปรแกรมจะทำให้สะดวกในการคำนวณในกรณีที่จำนวนความชื้นที่ทดสอบเป็น 4 หรือ 5 ค่า  การตรวจสอบค่าความชื้นว่าเรียงจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือไม่ การกำหนดสเกลของกราฟทั้งสเกลแนวตั้งและสเกลแนวนอนโดยอัตโนมัติ เป็นต้น

2. ขั้นตอนการคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน

การคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดินมีขั้นตอนโดยสังเขปดังต่อไปนี้

รูปที่ 2 Flowchart การคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน

เขียนโปรแกรม VBA ตาม flowchart โดยใช้ข้อมูลผลการทดสอบการบดอัดดินจาก worksheet Report ตามรูปที่ 3 และสร้างปุ่ม Update Chart เพื่อใช้คลิก เมื่อต้องทำการคำนวณและปรับปรุง Compaction curve ใหม่

รูปที่ 3 ข้อมูลการทดสอบการบดอัดดินและ Compaction Curve

รายละเอียดการคำนวณโดยละเอียด สามารถศึกษาได้จาก เทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft Excel คำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test).

3. สรุป
การคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test) ด้วย Excel VBA (Visual Basic for Applications) ในการคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน เพื่อพล็อตเส้นโค้งการบดอัด  หาความหนาแน่นแห้งสูงสุดและความชื้นที่เหมาะสมนั้น  อาจใช้เวลาในการพัฒนาโปรแกรมพอสมควร  แต่การแก้ไขโปรแกรม (VBA) ในภายหลังน่าจะมีความสะดวกมากกว่าการแก้ไขสูตรและสมการคำนวณในเซลต่างๆ จำนวนมาก  และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ Excel VBA นั้น สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากจากหนังสือที่มีจำหน่ายทั่วไป  และหลังจากนั้นสามารถประหยัดเวลาและสะดวกในการทำงานมากพอสมควร โดยไฟล์ตัวอย่างการคำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test) ด้วย Excel VBA สามารถ download ได้จาก ไฟล์ตัวอย่างงาน ซึ่งดัดแปลงบางส่วนจากไฟล์ที่ผู้เขียนพัฒนาเพื่อใช้ภายในหน่วยงาน อนึ่ง  ผู้เขียนยินดีรับคำแนะนำ  สอบถามหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่ tingsak@sut.ac.th
*************************************

เอกสารอ้างอิง

ปราโมทย์ เดชะอำไพ. (2549). ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขในงานวิศวกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาพร คูวิจิตรจารุ. (2541). ทดลองปฐพีกลศาสตร์. กรุงเทพฯ :ไลบราลี ไนน์.

สถาพร คูวิจิตรจารุ. (2542). ปฐพีกลศาสตร์. กรุงเทพฯ :ไลบราลี ไนน์พับลิชชิ่ง.

อำนาจ นุตะมาน. (2550). เขียนโปรแกรมและพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย VBA บน Excel ฉบับโปรแกรมเมอร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Chapra, S. C. (2008). Applied numerical methods with MATLAB for engineers and scientists. (2nd ed). Boston: McGraw-Hill Higher Education.

ติงศักดิ์  เหลืองเจริญทิพย์. เทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft Excel คำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test). แหล่งที่มา http://cste.sut.ac.th/articles/?p=5. 10 ตุลาคม 2558.

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

เทคนิคการจัดการข้อมูลวันที่และผู้ลงนามรายงานผลทดสอบใน Microsoft Excel(6,206 views)

ติงศักดิ์  เหลืองเจริญทิพย์

ฝ่ายห้องปฏิบัติการวิศวกรรม 2   ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Email: tingsak@sut.ac.th

รายงานผลทดสอบนอกจากจะแสดงผลการทดสอบวัสดุแล้ว  ยังประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องของตัวอย่างทดสอบ  เช่น  ชื่อและสถานที่ตั้งโครงการ  รายละเอียดตัวอย่าง  วันรับตัวอย่าง  วันทดสอบตัวอย่าง วันลงนามรายงานผลทดสอบ  เป็นต้น  ซึ่งในส่วนของเซลล์ที่ใช้ป้อนข้อมูลวันรับตัวอย่าง  วันทดสอบตัวอย่าง และวันลงนามรายงานผลทดสอบนั้น  สามารถกำหนดรูปแบบของเซลล์เป็นประเภทวันที่ (Date)   เพื่อให้ป้อนข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว  อีกทั้งยังสามารถใช้ฟังก์ชันของ Excel ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้นได้โดยอัตโนมัติ


ในส่วนของผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบนั้น  ปกติจะมีผู้ลงนามหลักและผู้ปฏิบัติการแทน  ดังนั้น ชื่อและตำแหน่งผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบจึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้  ซึ่งสามารถใช้คอมโบบอกซ์ (Combo box) ในการเลือกชื่อและตำแหน่งผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบในการออกรายงานผลทดสอบแต่ละครั้ง

ขั้นตอนการดำเนินการตามที่กล่าวมานั้น  แสดงได้ดังต่อไปนี้

1. การกำหนดรูปแบบวันที่ของวันรับตัวอย่าง

กำหนดรูปแบบของเซลล์ J9 ซึ่งใช้ป้อนข้อมูลวันรับตัวอย่าง เป็นประเภทวันที่ (Date) โดยรูปแบบการป้อนข้อมูล คือ วัน/เดือน/ปีพ.ศ. เช่น ป้อนข้อมูล 17/03/2557 เมื่อกด Enter ให้แสดงผลเป็น 17 มีนาคม 2557  ตามวิธีการดังนี้


Œ
Œ

(1) คลิกเลือกเซลล์ J9  คลิกเมาส์ขวา



(2) เลือก Format Cells…


Ž (3) เลือกแถบ   Number

 (4) เลือก Category: Date

 (5) เลือก Locale (Location): Thai

‘ (6) เลือก Calendar type : Thai Buddhist

’ (7) คลิก Input dates according to selected calendar

“ (8) เลือก Type: 14 มีนาคม 2555

”(9) คลิกปุ่ม OK

ทดลองป้อนข้อมูลวันรับตัวอย่างในเซลล์ J9 ตามรูป

Œ

Œ (1) คลิกเลือกเซลล์ J9  ป้อนข้อมูลวันรับตัวอย่าง เป็น  17/03/2557  กด Enter  (2) เซลล์ J9 จะแสดงวันที่เป็น 17 มีนาคม 2557

เพื่อให้ผู้ใช้งานเวิร์กชีตสามารถป้อนข้อมูลวันรับตัวอย่างตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้อย่างถูกต้อง  ควรเพิ่มคำอธิบายรูปแบบการป้อนข้อมูลด้วยการแทรกคอมเมนต์ (Comment) ตามวิธีการดังนี้

Œ

Œ(1) คลิกเซลล์ J9  ที่ต้องการใส่คอมเมนต์

 (2) คลิกเมาส์ขวาเลือก Insert Comment

Ž
Ž (3) กล่องคอมเมนต์จะปรากฏขึ้น พิมพ์ข้อความแสดงรูปแบบการป้อนข้อมูลวันที่ตามรูป  แล้วคลิกเมาส์ที่เซลล์อื่น

(4) เมื่อวางพอยเตอร์บนเซลล์ J9 จะปรากฏกล่องคอมเมนต์เพื่อแนะนำรูปแบบการป้อนข้อมูลวันที่ให้ผู้ใช้งานเวิร์กชีต

2 การกำหนดรูปแบบวันที่ของวันทดสอบตัวอย่าง

การกำหนดรูปแบบของเซลล์ J10 ซึ่งใช้ป้อนข้อมูลวันทดสอบตัวอย่างเป็นประเภทวันที่ (Date) พร้อมทั้งแทรกคอมเมนต์ (Comment) เพื่ออธิบายรูปแบบการป้อนข้อมูลเหมือนกับเซลล์ J9 ที่ใช้ป้อนข้อมูลวันรับตัวอย่างนั้น ใช้วิธีคัดลอก (Copy) เซลล์ J9 มาวางที่เซลล์ J10 ซึ่งจะได้ผลตามรูป

3 การกำหนดรูปแบบวันที่ของวันลงนามรายงานผลทดสอบ

สำหรับวันลงนามรายงานผลทดสอบนั้น  ห้องปฏิบัติการอาจจะพิมพ์เฉพาะเดือนกับปี พ.ศ. ไว้ก่อน เมื่อผู้มีอำนาจลงนามได้ลงนามแล้วจึงจะลงวันที่จริงที่ลงนามด้วยปากกา  ดังนั้น จะกำหนดรูปแบบของเซลล์ H37 ซึ่งใช้ป้อนข้อมูลวันลงนามรายงานผลทดสอบเป็นประเภทวันที่ (Date) โดยรูปแบบการป้อนข้อมูล คือ เดือน/ปีพ.ศ. เช่น ป้อนข้อมูล 03/2557 เมื่อกด Enter ให้แสดงผลเป็น  มีนาคม 2557  ตามวิธีการดังนี้

Œ
Œ (1) ผสานเซลล์ (Merge cells) H37:I37 เพื่อให้แสดงข้อมูลเดือน-ปี ได้ครบ แล้วคลิกเมาส์ขวา เลือก Format Cells

Ž
(2)  เลือกแถบ   Number

(3) Ž เลือก Category: Custom

(4)  เลือก Type:

[$-187041E]d mmmm yyyy;@


‘

(5)  ลบ d ออก ให้คงเหลือ[$-187041E] mmmm yyyy;@

ตามรูป

(6) ‘ คลิกปุ่ม OK

ทดลองป้อนข้อมูลเดือน ปี พ.ศ. ที่ลงนามรายงานผลทดสอบตามรูป  (ค่าที่เก็บในเซลล์ H37 จะเป็น 1/3/2557 คือ วันที่ 1 ของเดือน ปี ที่ป้อนข้อมูล)

Œ
Œ(1) คลิกเลือกเซลล์ H37 ป้อนข้อมูลเดือน ปี พ.ศ. ที่ลงนามรายงานผลทดสอบ เป็น  03/2557  กด Enter



(2) เซลล์ H37 จะแสดงเดือน ปี เป็น

มีนาคม 2557

Ž
Ž

(3) แทรกคอมเมนต์เพื่ออธิบายรูปแบบการป้อนข้อมูลเช่นเดียวกันกับวิธีการในหัวข้อ 2.1

4 การตรวจสอบการป้อนข้อมูลวันรับตัวอย่างและวันทดสอบตัวอย่าง

ขั้นตอนการทดสอบวัสดุโดยสังเขปประกอบด้วย

รับตัวอย่าง  →  ทดสอบตัวอย่าง  →  จัดทำรายงานผลทดสอบè ลงนามรายงานผลทดสอบ

ดังนั้น วันรับตัวอย่าง วันทดสอบตัวอย่าง และวันลงนามรายงานผลทดสอบ ต้องเรียงลำดับก่อนหลังกันจากน้อยไปหามาก  ดังนี้

วันรับตัวอย่าง  ≤  วันทดสอบตัวอย่าง  ≤   วันลงนามรายงานผลทดสอบ

ซึ่งสามารถเขียนสูตรตรวจสอบข้อมูลวันที่ที่ป้อนเพื่อให้แสดงข้อความเตือนในกรณีที่ป้อนข้อมูลไม่เป็นไปตามลำดับที่ถูกต้อง  อีกทั้งยังสามารถทำการเน้นให้เซลล์ดังกล่าวมีสีพื้นแตกต่างจากเซลล์ทั่วไปเพื่อให้เห็นถึงความผิดปกติได้ง่ายขึ้น

สำหรับการตรวจสอบข้อมูลวันทดสอบตัวอย่าง(เซลล์ J10) เปรียบเทียบกับวันรับตัวอย่าง(เซลล์  J9) วิธีการมีดังต่อไปนี้

Œ (1) คลิกเลือกเซลล์ K10 ซึ่งจะใช้แสดงข้อความเตือน กำหนดรูปแบบตัวอักษรเป็นแบบหนาและตัวอักษรสีแดง  เพื่อเน้นข้อความเตือนให้ชัดเจน

(2) คลิกเลือกเซลล์ K10 แล้ว พิมพ์สูตร

=IF(J10<J9,”วันทดสอบ ต้องไม่ก่อน วันรับตัวอย่าง !”,”") กด Enter


Ž
Ž(3) จะพบว่าเซลล์ K10 ไม่แสดงข้อความเตือน เนื่องจาก วันทดสอบตัวอย่าง(เซลล์ J10) มีค่าไม่น้อยกว่าวันรับตัวอย่าง(เซลล์  J9)

 (4) ลองป้อนข้อมูลวันทดสอบ 16/03/2557 ในเซลล์ J10 กด Enterจะพบว่าเซลล์ K10 แสดงข้อความเตือนข้อผิดพลาดตามรูป เนื่องจากวันทดสอบตัวอย่าง(เซลล์ J10) มีค่าก่อนวันรับตัวอย่าง(เซลล์  J9)

เพื่อให้สามารถเห็นความผิดพลาดในการป้อนข้อมูลวันทดสอบตัวอย่าง(เซลล์ J10) เมื่อเปรียบเทียบกับวันรับตัวอย่าง(เซลล์ J9) ได้ชัดเจนมากขึ้น  จะใช้การกำหนดรูปแบบแบบมีเงื่อนไข (Conditional formatting) เพื่อช่วยเน้นเซลล์ J10 ที่ป้อนข้อมูลวันทดสอบตัวอย่างให้มีความแตกต่างหากมีค่าน้อยกว่าวันรับตัวอย่าง(เซลล์ J9)  ตามวิธีการดังต่อไปนี้

Œ
Œ(1) คลิกเลือกเซลล์ J10 (วันทดสอบตัวอย่าง) ที่ต้องการกำหนดรูปแบบแบบมีเงื่อนไข (Conditional formatting)

 (2) คลิกเลือก

Conditional Formatting >

Highlight Cells Rules >

Less Than…

Ž
Ž(3) คลิกปุ่มตามรูป เพื่อไปเลือกเซลล์ที่ต้องการเปรียบเทียบกับเซลล์ J10 (วันทดสอบตัวอย่าง)


(4) คลิกเซลล์ J9 (วันรับตัวอย่าง) ที่ต้องการเปรียบเทียบกับเซลล์ J10 (วันทดสอบตัวอย่าง)

(5) คลิกปุ่มตามรูป

‘
(6) ‘ เงื่อนไขการเปรียบเทียบคือ ถ้าวันทดสอบตัวอย่าง(เซลล์ J10) มีค่าน้อยกว่าวันรับตัวอย่าง(เซลล์ J9) แล้วตัวอักษรของเซลล์ J10 จะเป็นสีแดงและสีพื้นเซลล์จะเป็นสีแดงจาง (Light Red Fill with Dark Red Text)  คลิกปุ่ม OK
’
(7) ’ เซลล์ J10 (วันทดสอบตัวอย่าง) จะแสดงรูปแบบเซลล์ตามเงื่อนไขที่กำหนด
“
“(8) ลองป้อนข้อมูลในเซลล์ J10 (วันทดสอบตัวอย่าง) ตามรูป จะเห็นว่า เซลล์ J10 แสดงรูปแบบเซลล์ตามปกติ เนื่องจากเซลล์ J10 มีค่าไม่น้อยกว่าเซลล์ J9

5 การเลือกผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบโดยใช้คอมโบบ็อกซ์ (Combobox)

ในส่วนของผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบนั้น ปกติจะมีผู้ลงนามหลักและผู้ปฏิบัติการแทน  ดังนั้นชื่อและตำแหน่งผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบจึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ในการออกรายงานผลทดสอบแต่ละครั้ง ซึ่งสามารถใช้คอมโบบอกซ์ (Combo box) ช่วยในการเลือกชื่อและตำแหน่งผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบตามวิธีการดังต่อไปนี้

Œ (1) ป้อนข้อมูลผู้ลงนาม พร้อมทั้งตำแหน่ง และข้อความในกรณีปฏิบัติการแทน ในลักษณะตารางตามรูป



(2) ตั้งชื่อช่วงข้อมูล (Named Range) AA2:AD4 เป็น tblApprove (หรือชื่ออื่นๆตามความต้องการ) โดยการเลือกช่วงเซลล์ AA2:AD4 แล้วคลิกที่กล่องชื่อ (Name box) พิมพ์ tblApprove และกด Enter

Ž
(3) Ž ตั้งชื่อช่วงข้อมูลเฉพาะชื่อผู้ลงนาม  AB2:AB4 เป็น tblName (หรือชื่ออื่นๆตามความต้องการ) โดยการเลือกช่วงเซลล์ AB2:AB4 แล้วคลิกที่กล่องชื่อ (Name box) พิมพ์ tblName และกด Enter

 (4) แทรกคอมโบบ็อกซ์ (Combo Box) โดยคลิกเลือก DEVELOPER > Form Controls > Combo Box

 (5) ลากเมาส์เพื่อสร้างคอมโบบ็อกซ์แล้วคลิกขวาเลือก Format Control…
‘
(6) ‘ เลือกแถบ Control

Input range : tblName

เป็นรายชื่อผู้ลงนามที่ต้องการให้เลือก

Cell link: คลิกเซลล์ D34 (เซลล์ว่างที่ไม่ใช้งาน)

เพื่อเก็บค่าลำดับที่ได้จากการเลือกชื่อผู้ลงนาม

’
(7) ’ เลือกแถบ Properties

เอาเครื่องหมาย √   หน้า Print object ออก เพื่อให้แสดงคอมโบบอกซ์เฉพาะในเวิร์กชีต  แต่ไม่ให้พิมพ์คอมโบบอกซ์ออกทางเครื่องพิมพ์ แล้วกด Enter

“
(8) “ ลองเลือกชื่อผู้ลงนามลำดับที่ 2 จาก คอมโบบ็อกซ์ จะพบว่าเซลล์ D34 แสดงค่าเท่ากับ 2 ตามลำดับของรายชื่อในคอมโบบ็อกซ์

ในการเลือกชื่อผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบจากคอมโบบ็อกซ์นั้น  ผลการเลือกจะแสดงค่าในเซลล์ D34 โดยแสดงค่าลำดับของรายชื่อในคอมโบบ็อกซ์ ซึ่งในขั้นตอนต่อไปจะต้องนำค่าในเซลล์ D34 ไปค้นหาชื่อผู้ลงนามพร้อมทั้งตำแหน่งจากตาราง tblApprove ที่สร้างไว้แล้ว  โดยใช้ฟังก์ชัน VLOOKUP  ตามวิธีการดังนี้

Œ
Œ (1) คลิกเลือกเซลล์ H34 แล้ว พิมพ์สูตร=VLOOKUP(D34,tblApprove,2,FALSE)

กด Enter เพื่อนำค่าจากเซลล์ D34 ไปค้นหาชื่อผู้ลงนามจาก tblApprove


 (2) คลิกเลือกเซลล์ H35 แล้ว พิมพ์สูตร

=VLOOKUP(D34,tblApprove,3,FALSE)

กด Enter เพื่อนำค่าจากเซลล์ D34 ไปค้นหาตำแหน่งของผู้ลงนามจาก tblApprove

Ž
Ž (3) คลิกเลือกเซลล์ H36 แล้ว พิมพ์สูตร=VLOOKUP(D34,tblApprove,4,FALSE)

กด Enter เพื่อนำค่าจากเซลล์ D34 ไปค้นหาข้อความกรณีเป็นการปฏิบัติการแทนจาก tblApprove


(4) คลิกเซลล์ D34 กำหนดรูปแบบสีตัวอักษรให้เป็นสีขาว  เพื่อให้ไม่แสดงทั้งในเวิร์คชีตและในการพิมพ์รายงานผลทดสอบลงบนกระดาษสีขาว

 (5) คลิกขวาที่คอมโบบ็อกซ์ แล้วคลิกซ้ายที่คอมโบบ็อกซ์อีกครั้ง ลากคอมโบบ็อกซ์มาวางทับชื่อผู้ลงนาม เพื่อไม่ให้แสดงข้อมูลซ้ำกันในเวิร์กชีต
‘
(6) ‘ เมื่อสั่งพิมพ์รายงานผลทดสอบ  ในส่วนของผู้ลงนามจะแสดงตามรูป  โดยไม่ได้พิมพ์คอมโบบ็อกซ์ออกมาด้วย (ตามที่ได้กำหนด Properties ของคอมโบบ็อกซ์ไว้)

5  สรุป

การจัดการข้อมูลวันที่และผู้ลงนามรายงานผลทดสอบตามรายละเอียดที่ได้แสดงมานั้นจะมีขั้นตอนมากพอสมควร   แต่ถ้าได้ลองนำไปใช้งานดู  ผู้เขียนเชื่อว่าจะทำให้การจัดทำรายงานผลทดสอบใช้เวลาน้อยลงพอสมควรและสร้างความมั่นใจในความถูกต้องของรายงานผลทดสอบมากขึ้น ทั้งในส่วนของผู้จัดทำรายงานผลทดสอบและผู้ลงนามรับรองรายงานผลทดสอบ  รวมทั้งสามารถนำเทคนิคไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆได้อีก

ผู้เขียนยินดีหากท่านใดต้องการสอบถาม แนะนำหรือแสดงข้อคิดเห็น โปรดติดต่อที่ tingsak@sut.ac.th

ŒŽ‘’“”•
  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

Silk Screen Printing for Ceramic(30,037 views)

กฤษดา  ศรีรักษ์

ฝ่ายห้องปฏิบัติการวิศวกรรม 2   ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Email : tou@sut.ac.th

1. บทนำ

ปัจจุบันการตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกมีเทคนิคการตกแต่งได้หลายวิธี  การใช้รูปลอกเซรามิกนั้นเป็นกระบวนการหนึ่งที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก  อันเนื่องมาจากความสวยงามและรวดเร็วในการผลิต  ซึ่งรูปลอกเซรามิกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ประเภท  ได้แก่  รูปลอกเซรามิกชนิดใต้เคลือบ   รูปลอกเซรามิกชนิดในเคลือบ และรูปลอกเซรามิกชนิดบนเคลือบ ซึ่งแต่ละประเภทล้วนมีความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย    รวมทั้งกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันไป

รูปที่ 1 ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ตกแต่งด้วยรูปลอกเซรามิก : ภาพประกอบจาก www.diytrade.com

บทความนี้จะกล่าวเฉพาะรูปลอกเซรามิกชนิดบนเคลือบ โดยเนื้อหาจะประกอบด้วยความรู้ทั่วไป  วัสดุอุปกรณ์   และขั้นตอนการผลิต สำหรับเนื้อหานั้น  ได้เรียบเรียงและอธิบาย โดยเน้นหลักการพื้นฐานของ Silk  Screen  Printing  for Ceramic  เป็นสาระสำคัญ   ซึ่งจะใช้ภาพประกอบเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่าย


1. ความรู้ทั่วไป

รูปลอกเซรามิกมีกระบวนการผลิตมาจากการพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK  SCREEN  PRINTING  )  ซึ่งเป็นกระบวนการพิมพ์ที่ทำให้สีพิมพ์ผ่านฉากกั้น ( SCREEN ) ไปปรากฏเป็นภาพที่แผ่นรองรับ   เช่นเดียวกับวิธีสเตนซิล ( STENCIL ) ที่ใช้สีพ่น ฉีด ทา หรือระบายผ่านฉากที่เจาะออกไป  แล้วไปปรากฏที่แผ่นรองรับ  วิธีการเช่นนี้  ภาพที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเดียวกับภาพต้นฉบับทุกประการไม่กลับซ้ายขวาเหมือนการพิมพ์ไม้ ( WOOD CUT )   การพิมพ์ผิวนูน ( RELIEF )  การพิมพ์ร่องลึก  ( INTAGLIO )  หรือการพิมพ์วิธีอื่น ๆ  อีกหลายวิธี

รูปที่ 2 การพิมพ์แบบสเตนซิล : ภาพจาก banksyforum.proboards.com

การพิมพ์ผ่านฉากแม่พิมพ์ แต่เดิมสร้างจากวัสดุที่เจาะให้ทะลุเพื่อสร้างภาพ เรียกว่าการพิมพ์แบบสเตนซิล( STENCIL ) เรื่อยมา วัสดุที่เป็นแบบแต่เดิมใช้กระดาษที่ค่อนข้างแข็งได้พัฒนามาเป็นไม้ โลหะและพลาสติก เทคนิคเป็นไปอย่างง่าย ๆ แต่ใช้ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในงานด้านพาณิชย์ศิลป์ เช่น การพิมพ์ตัวหนังสือ หรือเครื่องหมายลงบนหีบห่อพัสดุที่เป็นสินค้าส่งออก แต่วิธีการทำสเตนซิลมีขอบเขตจำกัดของรูปแบบ ไม่อาจสร้างภาพหรือลวดลายที่มีความละเอียด ประณีตมาก ๆได้ เช่น ภาพลายเส้น( VECTOR ) ภาพที่ต้องการแสดงความคมชัด ( HARD EDGE ) หรือแสดงรอยแปรง ( BRUSH STROKES ) ซึ่งนิยมทั้งในงานพาณิชย์ศิลป์และศิลปะ

รูปที่ 3 การพิมพ์ไม้ : ภาพจาก valwebb.wordpress.com

ระบบการพิมพ์ผ่านฉากพิมพ์ได้รับความนิยม เมื่อมีการนำเอาผ้าไหม ( SILK ) มาเป็นฉาก ( SCREEN ) โดยใช้ยางปาดสี ( SQUEEGEE ) ลากให้ผ่านช่องว่างของเส้นไหมที่มีเนื้อละเอียดเป็นพิเศษ ผ้าไหมจะกรองสีให้ผ่านออกไปอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ภาพที่ผ่านการพิมพ์วิธีนี้มีสีที่เรียบคมชัดเป็นพิเศษ ทั้งยังสามารถพิมพ์ออกมาได้จำนวนมากตามที่ต้องการ ผ้าไหมที่นำมาเป็นฉากกั้นนั้นแต่เดิมเป็นผ้าไหม ( SILK ) แต่เนื่องจากเส้นไหมยืดขยายตัวง่าย ปัจจุบันจึงนิยมหันมาใช้ไนลอน ( NYLON ) หรือใยสังเคราะห์ ( POLYESTER ) แต่ก็ยังนิยมเรียกว่า SILK SCREEN ไม่เรียก NYLON SRCEEN หรือ POLYESTER SCREEN

การพิมพ์ตะแกรงไหมเป็นการพิมพ์ที่ใช้ผ้าไหม ผ้าใยสังเคราะห์หรือผ้าไนลอนขึงบนกรอบไม้หรือกรอบโลหะแล้วสร้างภาพให้เกิดขึ้นบนผ้า โดยเปิดช่องว่างบนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามต้องการ ให้มีลวดลายเหมือนกับต้นฉบับที่เป็น POSITIVE การสร้างภาพให้เกิดขึ้นบนผ้าไหมทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีพื้นฐานง่าย ๆ เช่น ใช้กาวทาป้องกันไม่ให้สีผ่านหรือด้วยวิธีการตัดฟิล์ม แล้วนำมาเคลือบติดบนผ้าไหม ไปจนถึงการถ่ายแสงด้วยวิธีใช้กาวอัด การใช้แผ่นฟิล์มรวมกับการอัด งานที่นิยมพิมพ์ด้วยตะแกรงไหมมีหลายประเภท เช่น โปสเตอร์ การ์ด นามบัตร ส.ค.ส . งานโฆษณา พิมพ์ผ้าพลาสติก เซรามิก สติ๊กเกอร์ วงจร อิเลคโทรนิกส์ ฯลฯ

2. วัสดุอุปกรณ์

2.1 สีบนเคลือบ ( Over glaze Color ) เป็นสีที่ใช้สำหรับตกแต่งบนผิวของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาเคลือบแล้ว เมื่อตกแต่งเสร็จนำไปเผาซ้ำ เพื่อให้สีหลอมละลายและยึดติดแน่นกับผิวของน้ำเคลือบ ที่อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียล

2.2 น้ำมันประสาน ( Medium ) มีลักษณะเป็นของเหลวข้น ๆ  สีใส    ใช้ผสมสีบนเคลือบเมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ      เป็นสารที่ช่วยยึดสี  ให้คงรูปร่างและลวดลายไว้

2.3  ฟิล์มเคลือบผิวหน้า ( Cover coat ) มีลักษณะเป็นของเหลวข้น ๆ มีสีเหลือง ใช้เป็นฟิล์มเคลือบผิวหน้าของรูปลอกหลังจากพิมพ์สีเรียบร้อยแล้ว ลักษณะของฟิล์มเคลือบผิวหน้าจะไม่ละลายน้ำ ตัวฟิล์มที่ทำหน้าที่ยึดสีให้คงรูปร่าง หรือลวดลายหรือตำแหน่งของลวดลายไว้ โดยฟิล์มนี้ยึดติดเป็นเนื้อเดียวกับสี เพื่อให้ความสามารถลอกรูปลอกหรือลวดลายที่สกรีนไว้บนกระดาษออก เพื่อนำไปติดผลิตภัณฑ์ได้ โดยมีลวดลายเหมือนเดิม


2.4  กระดาษรูปลอกน้ำ ( Decalcomania Paper ) เป็นกระดาษหนาประมาณ 60-80 ปอนด์ ด้านบนที่ใช้งานจะเคลือบกาวไว้ จึงมีลักษณะเหนียวๆ ส่วนด้านล่างเป็นกระดาษผิวเคลือบมัน ไม่เหนียว เพื่อให้สามารถวางซ้อนกันได้ ทั้งก่อนพิมพ์ และหลังพิมพ์รูปลอก

2.5  ภาพต้นแบบ ( Art Work ) ทำได้ทั้งบนกระดาษขาว กระดาษไข แผ่นฟิล์ม แผ่นฟิล์มลิท โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับภาพหรือลวดลาย

2.6  บล็อกสกรีนพร้อมขึงตะแกรงไหม ควรใช้ผ้าไหมเบอร์ 90 – 120


2.7  น้ำมันล้าง ( Cleaner ) ใช้สำหรับล้างอุปกรณ์ในการพิมพ์

2.8  อุปกรณ์อื่นๆ อาทิเช่น กาวอัด น้ำยาไวแสง ไม้ปาดสกรีนพร้อมยางปาด แท่นสกรีน กาวสเปรย์ ไดร์เป่าผม เครื่องชั่งหรือถ้วยตวง ภาชนะสำหรับผสมสี เตาเผา เป็นต้น

3. ขั้นตอนการผลิต

แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

3.1 การผลิตต้นแบบ การผลิตต้นแบบนั้นสามารถผลิตได้หลากหลายวิธีการ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการผลิตโดยใช้สติ๊กเกอร์เป็นวัสดุกั้นแสง เพื่อให้เข้าใจหลักการโดยง่าย

3.1.1  ออกแบบลวดลายลงบนกระดาษ โดยแยกส่วนที่ต้องการให้เกิดสี( ส่วนที่ระบายสีดำ ) และส่วนที่ต้องการให้เป็นช่องว่าง ( Space ) อย่างชัดเจน

3.1.2  พ่นกาวสเปรย์ลงบนแผ่นสติ๊กเกอร์และนำกระดาษที่ออกแบบติดลงไปบนแผ่นสติ๊กเกอร์

3.1.3  ใช้คัตเตอร์กรีดตามรอยของลวดลาย ที่เป็นรอย ตัดระหว่างพื้นที่ ที่ต้อง การให้เกิดสีกับพื้นที่ที่ต้องการให้เป็นช่องว่าง

3.1.4  ลอกกระดาษที่วาดลวดลายออกทั้งหมดให้เหลือเพียงแผ่นสติ๊กเกอร์ที่ถูกตัดตามรอยแล้ว

3.1.5  นำกระดาษกาวปิดทับลงบนรอยตัด ของลวดลาย และดึงสติ๊กเกอร์ส่วนของพื้นที่ ที่ต้องการให้เกิดสีออกจากแผ่นสติ๊กเกอร์

3.1.6  นำสติ๊กเกอร์ที่ดึงออกมาติดลงบนแผ่นใส และ ลอกกระดาษกาวออก เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับถ่ายบล็อกสกรีน เป็นอันเสร็จสิ้นการผลิตต้นแบบ

3.2  การถ่ายบล็อกสกรีน

3.2.1  ผสมกาวอัดและน้ำยาไวแสง ในอัตราส่วน 5:1 เมื่อผสมจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วเทลงบนบล็อกสกรีน


3.2.2  ใช้ยางปาดปาดกาวอัด ให้ทั่วตะแกรงไหมบนบล็อกสกรีน

3.2.3  ใช้ไดร์เป่าผมเป่าลมร้อนจนกว่ากาวอัดจะแห้ง

3.2.4  นำต้นแบบวางลงบนตู้ไฟในลักษณะ Positive และนำบล็อกสกรีนวางทับลงบนต้นแบบ


3.2.5  ใช้ผ้าดำหนาวางคลุมบนบล็อกสกรีนและวางทับ ด้วยวัสดุกด ทับที่แบนเรียบ เช่น หนังสือ กระเบื้องเซรามิก ฯลฯ เพื่อให้ลายต้นแบบแนบติดกับตะแกรงไหม

3.2.6  เปิดไฟเพื่อถ่ายบล็อกสกรีน 3 นาทีโดยประมาณจากนั้นปิดไฟและนำบล็อกสกรีนไปฉีดล้างน้ำ ส่วนที่ไม่ถูกแสงไฟจะหลุดออก ส่วนที่ถูกแสงไฟจะแข็งตัวและติดแน่นกับตะแกรงไหม เกิดเป็นลวดลายตามต้นแบบ

3.2.7  ใช้ไดร์เป่าผมเป่าให้แห้งเป็นอันเสร็จสิ้นการถ่ายบล็อกสกรีน

3.3  การสกรีนสี

3.3.1 นำบล็อกสกรีนติดตั้งบนแท่นสกรีน

3.3.2  วางกระดาษรูปลอกน้ำลงบนแท่นสกรีนและวางบล็อกสกรีนทับ ลงบนกระดาษ แล้วจัดวางกระดาษให้ลวดลายบนตระแกรงไหม อยู่ในกรอบของกระดาษรูปลอกน้ำ เมื่อได้ตำแหน่งจึงใช้กระดาษกาวทำเครื่องหมายทั้งสี่มุมของกระดาษรูปลอกน้ำบนแท่นสกรีน

3.3.3  ผสมผงสีบนเคลือบและมีเดี่ยมในอัตราส่วน 6 : 4 แล้วจึงเทสีสกรีน ลงบนบล็อกสกรีน

3.3.4  ยกบล็อกสกรีนขึ้นอย่าให้ตะแกรงไหมสัมผัสกับกระดาษรูปลอกน้ำ แล้วใช้ยางปาดปาดสีกลบส่วนที่เป็นลวดลายทั้งหมด

3.3.5  วางบล็อกสกรีนให้ตะแกรงไหมทาบลงบนแผ่นกระดาษรูปลอกน้ำ แล้วใช้ยางปาด ปาดสีอีกครั้ง ก็จะเกิดเป็นลวดลายบนกระดาษรูปลอกน้ำ

3.3.6  หลังจากวางตากประมาณ 5 นาทีแล้วจึงนำมาวางบนแท่นสกรีนอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เปลี่ยนใช้บล็อกสกรีนสำหรับสกรีน Cover coat ติดตั้งลงบนแท่นสกรีน

3.3.7  เท Cover Coat ลงบนบล็อกสกรีน

3.3.8  วางทาบลงบนกระดาษรูปลอกน้ำ ที่ผ่านการสกรีนสีแล้วจึงปาด Cover coat ทับ จากนั้นจึงนำไปตากแห้งประมาณ 10 นาที

3.3.9  นำรูปลอกน้ำไปแช่น้ำ ประมาณ 2 นาที หรือจน กว่าจะสังเกตเห็นลายสติ๊กเกอร์เริ่มร่อนออกจากกระดาษรูปลอกน้ำ

3.3.10  จากนั้นจึงนำขึ้น มาติดบนผิวผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดแล้ว จัดสติ๊กเกอร์ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ รีดน้ำและอากาศออกให้หมด

3.3.11  นำเข้าเตาเผาที่ อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียล เมื่อเตาเผาเย็นที่อุณหภูมิห้องจึง นำชิ้นงานออก จากเตาเผาเป็น อันเสร็จ

บทส่งท้าย

การผลิตรูปลอกเซรามิกด้วยกระบวนผลิตแบบ Silk Screen Printing ในแต่ละขั้นตอนที่ได้อธิบายนั้น ยังมีเนื้อหาและรายละเอียดอื่น ๆ อาทิเช่น หลักการออกแบบ เพื่อให้เกิดความสวยงามสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยและสามารถผลิตได้ คุณลักษณะและกระบวนการผลิตรูปลอกเซรามิกแต่ละประเภท คุณสมบัติของวัสดุและการใช้งานเครื่องมือประเภทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การตรวจสอบคุณภาพในแต่ละขั้นตอนการผลิต ฯลฯ เนื้อหาต่าง ๆ เหล่านี้ต้องค้นคว้าหาความรู้และศึกษาประสบการณ์เพิ่มเติมจึงสามารถผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพ

เอกสารอ้างอิง

ปัญจลักษณ์ หรีรักษ์. เอกสารประกอบการเรียน วิชา การพิมพ์รูปลอกเซรามิก. แผนกวิชาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา , 2542.

วันชัย เพี้ยมแตง. การตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาด้วยรูปลอกเซรามิก . กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ , 2547.

พัฒนาชัย กุลสิริสวัสดิ์. แนะนำอุปกรณ์การพิมพ์ซิลค์สกรีนพร้อมวิธีการใช้. กรุงเทพฯ : บริษัทชัยบูรณ์บราเดอร์ จำกัด, ม.ป.ป.

วิเชียร จิระกรานนท์และนงเยาว์ จิระกรานนท์. การพิมพ์ซิลค์สกรีน. กรุงเทพฯ : ธีระการพิมพ์, 2529.

*********************************

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

เครื่องไอออนโครมาโทกราฟ(7,272 views)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

การออกแบบวงจรขยายสัญญาณความถี่ 2.45 GHz โดยใช้ทรานซิสเตอร์(ตอนที่ 2 การออกแบบวงจร Matching Networks)(ต่อ)(9,619 views)

การออกแบบวงจรขยายสัญญาณความถี่ 2.45 GHz โดยใช้ทรานซิสเตอร์(ตอนที่ 2 การออกแบบวงจร Matching Networks)(ต่อ)

ประพล จาระตะคุ*   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย ทองโสภา

*Email: prapol@sut.ac.th

—————————————————————————————————————————-

หาความยาวของสายส่งบนแผนภูมิสมิท โดยลากเส้นตรงจากจุด ผ่านจุด A จะได้ มีค่าเท่ากับ คำนวณความยาวสายส่งจะได้เท่ากับ ดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 แสดงการหาค่าความยาวของสายส่งด้านอินพุต

[...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS