ฝ่ายห้องปฏิบัติการวิศวกรรม 2 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
Email: tingsak@sut.ac.th
1. บทนำ
การทดสอบตัวอย่างดินด้วยวิธี CBR (California Bearing Ratio ตามมาตรฐาน ASTM D-1883 และ AASHTO T-193) เป็นการเปรียบเทียบหน่วยแรง (unit load) ต้านทานแรงกดของตัวอย่างดินต่อหน่วยแรงต้านทานแรงกดของหินคลุกมาตรฐานบดอัด ซึ่งวิธีการทดสอบโดยสังเขปประกอบด้วยการกดตัวอย่างดินด้วยหัวกดมาตรฐาน (Penetration Piston) ด้วยอัตราการกด 0.05 นิ้ว/นาที (รูปที่ 1) บันทึกค่าแรงกด (Load) ที่ระยะจม (Penetration) ต่างๆของหัวกดตามมาตรฐานกำหนด
พล็อตเส้นโค้งผลการทดสอบระหว่างค่าหน่วยแรงกด (Unit load) กับ ระยะจม (Penetration) ของหัวกด (Load-Penetration Curve) ตามรูปที่ 2 เพื่อหาค่าหน่วยแรงกด ที่ ระยะจม 0.1 นิ้ว และ 0.2 นิ้ว นำไปคำนวณค่าเปอร์เซ็นต์ CBR ของแต่ละค่าพลังงานการบดอัด (Compaction effort) จากสมการต่อไปนี้
ที่ Penetration 0.1 นิ้ว
|
(1) | ||
ที่ Penetration 0.2 นิ้ว | (2) |
รูปที่ 1 การทดสอบดินด้วยวิธี CBR
รูปที่ 2 Correction of Load-Penetration Curves(ASTM D 1883)
ตามปกติ Load-Penetration Curve จากการทดสอบควรมีลักษณะโค้งคว่ำ (concave downward shape) และผ่านจุดกำเนิดดังกราฟเส้นบนสุดตามรูปที่ 2 โดยความชันของเส้นโค้งจะมีค่ามากที่สุดที่จุดเริ่มต้นและมีค่าลดลงไปเมื่อค่า penetration มีค่าเพิ่มขึ้น แต่ในบางกรณี Load-Penetration Curve จากการทดสอบที่ได้ส่วนต้นของเส้นโค้งอาจมีลักษณะเป็นโค้งหงาย (concave upward shape) ดังกราฟเส้นกลางและล่างสุดตามรูปที่ 2 โดยอาจเกิดได้จากการที่ผิวหน้าของวัสดุที่ทดสอบไม่ปกติหรือจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งจะต้องทำการปรับแก้กราฟโดยการลากเส้นตรงให้สัมผัสกับเส้นโค้งที่ตำแหน่งที่มีความชันมากที่สุดให้ไปตัดกับแกนนอน (penetration) และใช้จุดตัดดังกล่าวเป็นจุดกำเนิดใหม่ของกราฟ ตามรูปที่ 2
การปรับแก้ Load-Penetration Curve ตามที่กล่าวมานั้นสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Excel ช่วยในการคำนวณปรับแก้ได้ตามวิธีการในหัวข้อต่อไป
2. การปรับแก้ Load-Penetration Curve
การปรับแก้ Load-Penetration Curve มีขั้นตอนโดยสังเขปดังต่อไปนี้
รูปที่ 3 ขั้นตอนการปรับแก้ Load-Penetration Curve
2.1 พล็อต Load-Penetration Curve (XY Scatter)
จากตัวอย่างข้อมูลการทดสอบ CBR ที่การบดอัด 12 ครั้ง/ชั้น ตามรูปที่ 4 พล็อตกราฟผลการทดสอบระหว่างค่าหน่วยแรง กับ ค่าระยะจมของหัวกด โดยพล็อตเฉพาะจุดข้อมูลเท่านั้น (XY Scatter) ตามวิธีการดังนี้
- เลือกช่วงข้อมูล A4:B14 ตามรูปที่ 4
รูปที่ 4 ข้อมูลการทดสอบ CBR
- เลือกแท็บ Standard Types แล้วเลือก
Chart type: XY (Scatter)
Chart sub-type: Scatter. Compares pairs of values
ตามรูปที่ 5
รูปที่ 5 เลือกประเภทของกราฟ
- คลิกปุ่ม Next ไปที่ Step 3 of 4 – Chart Options ตามรูปที่ 6
กำหนดชื่อของกราฟ (Load-penetration Curve) แกนตั้ง (Unit Load) และแกนนอน (Penetration)
แล้วคลิก Finish เพื่อให้ได้กราฟตามรูปที่ 7
รูปที่ 6 Load-Penetration Curve (XY Scatter)
รูปที่ 7 Load-Penetration Curve (XY Scatter)
2.2 เพิ่มเส้นแนวโน้ม (Trend Line)
เพิ่มเส้นแนวโน้ม (Trend Line) ให้ชุดของข้อมูล ตามวิธีการดังนี้
- คลิกเมาส์ขวาที่จุดใดจุดหนึ่งของชุดข้อมูล และคลิกที่คำสั่ง Add Trendline ตามรูปที่ 8
รูปที่ 8 เรียกคำสั่ง Add Trendline…
- เลือกแท็บ Type และเลือกประเภทสมการของเส้นแนวโน้มแบบโพลิโนเมียล (Polynomial) กำลัง (Order) 2, 3, 4, 5 หรือ 6 ที่เหมาะสมกับชุดข้อมูล ในที่นี้เลือกโพลิโนเมียลกำลัง 5 ตามรูปที่ 9
รูปที่ 9 เลือกประเภทสมการของเส้นแนวโน้ม
- เลือกแท็บ Option และเลือก
Set Intercept = 0
Display equation on chart
Display R-squared value on chart
คลิก OK ตามรูปที 10
รูปที่ 10 กำหนดรายละเอียดของสมการเส้นแนวโน้ม
จะได้เส้นแนวโน้มแบบโพลิโนเมียล ซึ่งผ่านจุด (0,0) พร้อมทั้งสมการของเส้นแนวโน้มดังรูปที่ 11
รูปที่ 11 Load-Penetration Curve พร้อมสมการเส้นแนวโน้ม
2.3 การคำนวณหาสมการของเส้นแนวโน้ม
สมการของเส้นแนวโน้มที่แสดงตามรูปที่ 11 นั้น อยู่ในรูปแบบกล่องข้อความ (text box) ซึ่งอาจไม่สะดวกในการคัดลอกไปใช้ในการคำนวณต่อไป รวมทั้งจำนวนเลขนัยสำคัญของสัมประสิทธิ์แต่ละตัวมีค่าน้อย ดังนั้นจะใช้ฟังก์ชัน LINEST ช่วยในการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการโพลิโนเมียล ดังนี้
- เลือกช่วงเซล D4..I4 ตามรูปที่ 12
รูปที่ 12 การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการโพลิโนเมียล
- คลิกที่แถบสูตร (Formula bar) พิมพ์
=LINEST(B4:B14,A4:A14^{1,2,3,4,5},FALSE)
โดย B4:B14 เป็น ชุดข้อมูลของค่า y (Unit Load) จากรูปที่ 4
A4:A14 เป็น ชุดข้อมูลของค่า x (Penetration) จากรูปที่ 4
{ 1, 2, 3, 4, 5 } สำหรับสมการโพลิโนเมียลกำลัง 5 (ถ้าเลือกใช้สมการโพลิโนเมียลกำลัง 3 จะเป็น {1,2,3,})
FALSE เป็น เป็นค่าตรรกะที่ระบุว่าจะกำหนดให้ค่าคงที่ b เท่ากับ 0
กด Control + Shift + Enter จะได้สัมประสิทธิ์ของสมการในเซล D4 ถึง I4 ตามรูปที่ 13
รูปที่ 13 ค่าสัมประสิทธิ์ของสมการโพลิโนเมียลที่คำนวณได้
2.4 คำนวณหาจุดบนกราฟของสมการ y = f(x) ที่มีค่าความชันมากที่สุด
จุดบนกราฟของสมการ y = f(x) ที่มีค่าความชันมากที่สุด คือจุดที่อนุพันธ์อันดับที่หนึ่ง (First Derivative, f’(x)) ของฟังก์ชันมีค่ามากที่สุด ซึ่งในที่นี้จะใช้วิธีการประมาณค่า f’(x) ตามวิธีการในรูปที่ 14 (Centered finite-divided difference) โดยแบ่งค่า x ออกเป็นช่วงๆละ 0.001 in. โดยมีขั้นตอนการคำนวณดังต่อไปนี้
รูปที่ 14 วิธีการประมาณค่า f’(xi)
รูปที่ 15 ตั้งชื่อสัมประสิทธิ์ของสมการเส้นแนวโน้มในเซล D4 ถึง H4
รูปที่ 16 การคำนวณค่าอนุพันธ์อันดับที่ 1 ที่จุดต่างๆ
(1) ตั้งชื่อสัมประสิทธิ์ของสมการในเซล D4 เป็น m_1, E4 เป็น m_2, F4 เป็น m_3, G4 เป็น m_4, H4 เป็น m_5 ตามลำดับ ตามรูปที่ 15
(2) ใส่ค่า 1 – 201 ในเซล K4 ถึง เซล K204 ตามรูปที่ 16
(3) ใส่ค่า 0.000 ในเซล L4 และเพิ่มค่าขึ้นครั้งละ 0.001 จนมีค่าเป็น 0.200 ในเซล L204 ตามรูปที่ 16 (จาก Load-Penetration Curve ในรูปที่ 11 จะเห็นได้ว่าจุดที่กราฟมีความชันสูงสุดนั้น ค่า Penetration จะมีค่าไม่เกิน 0.200 นิ้ว)
(4) เลือกเซล M5 เพื่อคำนวณค่า f(x) โดยพิมพ์สูตร
=m_1*L5^5+m_2*L5^4+m_3*L5^3+m_4*L5^2+m_5*L5 จะได้ผลลัพธ์เป็น -0.05 ตามรูปที่ 16
(5) คัดลอกเซล M5 ไปที่เซล M6 ถึง เซล M204 ตามรูปที่ 16
(6) คำนวณค่า f’(x) ตามสมการ
โดยเลือกเซล N5 พิมพ์สูตร = (M6-M4)/0.002 จะได้ผลลัพธ์เป็น -48.99 ตามรูปที่ 16
(7) คัดลอกเซล N5 ไปที่เซล N6 ถึง เซล M203 ตามรูปที่ 16 จะได้ค่า f’(x) ที่ค่า x ต่างๆ
(8) หาค่าความชันสูงสุด โดยเลือกเซล N206 พิมพ์สูตร
=MAX(N5:N203) จะได้ค่าความชันสูงสุดเป็น 406.66 ตามรูปที่ 16
(9) หาตำแหน่งแถวในตารางข้อมูลที่มีค่าความชันสูงสุด ตามที่คำนวณได้ในข้อ (8) โดยเลือกเซล K206 พิมพ์สูตร
=MATCH(N206,N4:N204,0) จะได้ว่าแถวที่ 96 เป็นแถวที่มีค่าความชันสูงสุดในตารางข้อมูล ตามรูปที่ 16
(10) ให้ (xt,yt) เป็นจุดที่มีค่าความชันสูงสุด ตามที่คำนวณได้ในข้อ (8)
หาค่า xt โดยเลือกเซล L206 พิมพ์สูตร
=INDEX(L4:L204,K206) จะได้ผลลัพธ์เป็น 0.095 ซึ่งเท่ากับค่า x ของแถวที่ 96 ตามรูปที่ 16
หาค่า yt โดยเลือกเซล M206 พิมพ์สูตร
=INDEX(M4:M204,K206) จะได้ผลลัพธ์เป็น 25.32 ซึ่งเท่ากับค่า f(x) ของแถวที่ 96 ตามรูปที่ 16
(11) ดังนั้น จุดบนกราฟของสมการ y = f(x) ที่มีค่าความชันมากที่สุด
ค่าความชัน = 406.66 psi/in
Penetration, xt = 0.095 in
Unit Load, yt = 25.32 psi
2.5 การคำนวณค่า CBR
คำนวณค่าต่างๆ ที่อ้างถึงตามรูปที่ 17 โดยป้อนสูตรในเซลต่างๆ ตามรูปที่ 18 ดังต่อไปนี้
รูปที่ 17 การคำนวณค่า Δx, xo
รูปที่ 18 การคำนวณค่าต่างๆและ CBR
นำค่าต่างๆ ที่คำนวณได้อ้างตามรูปที่ 18 ไปพล็อตกราฟได้ตามรูปที่ 19
รูปที่ 19 Load-Penetration Curve ที่ปรับแก้แล้ว
รูปที่ 20 Dry Density vs CBR (ASTM D 1883)
3. สรุป
วิธีการคำนวณปรับแก้ Load-Penetration Curve ตามที่ได้แสดงมาแล้วนั้น มีขั้นตอนการคำนวณมากพอสมควร แต่สามารถทำให้สะดวกในการใช้งานได้โดยเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมในบางส่วนด้วย VBA (Visual Basic for Applications) ซึ่งมีอยู่แล้วในโปรแกรม Microsoft Excel
อนึ่ง ในการคำนวณผลการทดสอบ CBR นอกเหนือจาก Load-Penetration Curve แล้ว ยังจะต้องพล็อตกราฟ Dry Density vs CBR (รูปที่ 20) ซึ่งสามารถใช้วิธีการประมาณค่าในช่วงด้วยวิธีผลต่างจากการแบ่งย่อยของนิวตัน (Newton’s divided-difference Interpolating Polynomials) ในการพล็อตกราฟและคำนวณค่าที่ต้องการอ่านจากกราฟ ตามตัวอย่างในบทความ “เทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft Excel คำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test)”
********************************************
เอกสารอ้างอิง
ปราโมทย์ เดชะอำไพ. (2549). ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขในงานวิศวกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรากร ไม้เรียง, จิรพัฒน์ โชติกไกร และ ประทีป ดวงเดือน. (2525) ปฐพีกลศาสตร์ ทฤษฎีและปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์การพิมพ์.
สถาพร คูวิจิตรจารุ. (2541). ทดลองปฐพีกลศาสตร์. กรุงเทพฯ :ไลบราลี ไนน์.
สถาพร คูวิจิตรจารุ. (2542). ปฐพีกลศาสตร์. กรุงเทพฯ :ไลบราลี ไนน์พับลิชชิ่ง.
American Association of State Highway and Transportation Officials. (2003). Standard specification for transportation materials and methods of sampling and testing Part2A:Tests. (23rd Ed). Washington, D.C.: AASHTO.
American Society for Testing and Materials. (2004). Annual Book of ASTM Standards. Volume 04.08. Soil and Rock (I). Philadelphia, PA : ASTM.
Chapra, S. C. (2008). Applied numerical methods with MATLAB for engineers and scientists. (2nd Ed). Boston: McGraw-Hill Higher Education.
It’s about time soeomne wrote about this.
Articles like this are an exmpale of quick, helpful answers.
… [Trackback]…
[...] Read More here: cste.sut.ac.th/articles/?p=41 [...]…
… [Trackback]…
[...] Read More: cste.sut.ac.th/articles/?p=41 [...]…
Great hammer of Thor, that is powerfully heplufl!
Thanks for ones blog loaded with so many information. Stopping by your blog helped me to get what I was seeking for.
Greetings, You write some great blogs. I check back the following often to learn if you have kept up to date. I idea you’ll be able to desire to know, once I click your RSS feed it re-directs me to an additional website.
This website online is known as a walk-via for the entire info you wanted about this and didn’t know who to ask. Glimpse here, and you’ll definitely discover it.