You are here: Home > คู่มือการใช้เครื่องมือ > Luminescence Spectrophotometer (LS)

Luminescence Spectrophotometer (LS)(14,668 views)

คู่มือการใช้เครื่องมือ Luminescence Spectrophotometer (LS)

Luminescence Spectrometer

Luminescence Spectrometer

Perkin Elmer model LS 50 B

Luminescence Spectrophotometer (LS) เป็นเครื่องมือที่วัดค่าการเปล่งแสง (luminescence) ของสารบางชนิด โดยมีกระบวนการดูดดูดกลืนแสง (excitation) และคายแสง (emission) ที่อยู่ในช่วงอัลตร้าไวโอเลต และวิสิเบิ้ล ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 200 – 800 นาโนเมตร ค่า emission ของสาร เป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของสาร จึงสามารถวิเคราะห์ได้ในเชิงคุณภาพและปริมาณ เป็นเทคนิคที่ให้สภาพไวสูง และสามารถใช้ตรวจสอบหรือพิสูจน์ชนิดของสารได้

ในการใช้เครื่องมือผู้ใช้งานควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน ส่วนประกอบของเครื่องมือและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ และใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว มีผลการทดลองที่มีความถูกต้องและแม่นยำ  นอกจากนั้นยังเป็นการลดความเสียหายอันเกิดจาก การใช้เครื่องมือที่ผิดวิธี หากเกิดปัญหาในการใช้เครื่องมือ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที

คู่มือการใช้เครื่อง LS ฉบับย่อนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ที่มีความสนใจ สามารถทำตามและใช้เครื่องมือได้อย่างง่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการใช้ให้มีความชำนาญขั้นสูงขึ้นโดยศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือฉบับเต็มรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษ และทดลองปฏิบัติควบคู่กันไปจะนำสัมฤทธิ์ผลมาสู่ผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี หัวข้อที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ การเตรียมตัวอย่าง การเปิดเครื่อง การใช้ software และการปิดเครื่อง

1. การเตรียมตัวอย่าง

ตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่อง LS จะอยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซก็ได้ โดยส่วนใหญ่จะในรูปของสารละลาย บรรจุใน cuvette และนำเข้าเครื่องวัดค่าการ excitation(ex) และ emission(em) ได้เลย (cuvette มีลักษณะใสทั้ง 4 ด้าน เบิกได้ที่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเคมี)

2. การเปิดเครื่อง

2.1 เปิด stabilizer และกดปุ่มสีแดง หลังจากนั้น เปิดปริ้นเตอร์  UPS คอมพิวเตอร์ และสวิทซ์ที่ตัวเครื่อง LS

3. การใช้ software และการวัดตัวอย่าง

3.1 เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์แล้ว warm เครื่องประมาณ 20 นาที

3.2 เข้ามาที่หน้า login ใส่ค่า username : Administrator แล้วกด OK

3.3 double click ที่โปรแกรม FL winlab และเลือก application ที่ต้องการใช้งาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการใช้งานในส่วนของ application ใด โดยส่วนใหญ่แล้วจะเลือกใช้ scan เพื่อสแกนหาความยาวคลื่นที่สารเกิดการ excitation และ emission ได้มากที่สุด หรือเลือกใช้ application read เพื่อวัดค่า emission เมื่อทราบค่า excitation หรือ emission แล้ว

3.3.1 application scan

3.3.1.1 เลือกเมนู application และเลือก scan, single scan mode                  setup parameter, pre-scan (ในกรณีที่ไม่ทราบค่า excitation และ emission )

3.3.1.2 เลือก full range (ค่าที่ใช้ scan, ex 200-800 nm และ em 200-900 nm)ตั้งค่า slit (อาจตั้งเป็น ex 5.0, em 5.0), scan speed (max. 1500 nm/min) และเลือก solvent ตามต้องการ

3.3.1.3 ใส่ตัวอย่างลงไปในเครื่อง โดย การจับ cuvette ให้จับด้านบน ปริมาณสารที่ใส่ประมาณ 3 ใน 4 ของ cuvette และปิดฝา cuvette ให้เรียบร้อย เปิดที่ใส่ตัวอย่าง และนำ cuvette ใส่ลงในเครื่องปิดฝาเครื่อง แล้วกดไฟเขียวเพื่อสแกนตัวอย่าง

3.3.1.4 เครื่องจะเริ่มสแกนตามค่าที่เราตั้งไว้ เมื่อสแกนเสร็จเครื่องจะแจ้งให้ทราบค่า ex และ em

3.3.1.5 นำค่าที่ได้ไปสแกนเพื่อหาค่า ex และ em อีกครั้ง โดยเข้าไปที่เมนู excitation หรือ emission ทำการสแกนที่ละครั้ง เลือก setup parameter เลือกช่วงการสแกน ป้อนค่า em เพื่อสแกนหาค่า ex และ ใส่ค่า ex เพื่อสแกนหาค่า em

3.3.1.6 ตั้งค่าช่วงความยาวคลื่น slit scanspeed และกำหนดชื่อไฟล์ตามต้องการ ใส่ตัวอย่างลงไปในเครื่องแล้วกดไฟเขียวเพื่อสแกนตัวอย่าง

3.3.1.7 หลังจากสแกนเสร็จแล้วนำ cuvette เทสารละลายทิ้งเปลี่ยนใส่ตัวอย่างที่ต้องการจะวิเคราะห์ใหม่ (กลั้วด้วยตัวอย่างที่จะวัด 2-3 ครั้ง)

3.3.1.8 การจัดการข้อมูล ย่อหรือปิด application scan ไปที่เมนู File, open เลือกไฟล์ที่ต้องการ, OK เลือกไอคอน peak, ไปที่เมนู File และ print เพื่อพิมพ์ผลออกมา

3.3.2 application read ใช้วัดค่า intensity ของตัวอย่าง

3.3.2.1 click setup parameter, ตั้งค่าการควบคุมอุณหภูมิตามต้องการ (amp temp.)

3.3.2.2 ตั้งค่า ex และ em ค่า slit และ integration time (1 sec)

3.3.2.3 ตั้งชื่อไฟล์เพื่อเก็บข้อมูล เลือก on stop แล้วใส่ตัวอย่างลงไปในเครื่อง

3.3.2.4 วัดค่า blank/background ก่อน  โดยการใส่ blank เข้าเครื่อง แล้วกดปุ่ม measure BG หลังจากวัดเสร็จให้ click ý ที่หัวข้อ subtract BG

เลือกวัดค่า background ก่อน โดยการกดไฟเขียว รอประมาณ 10 วินาที และกดไฟแดงเพื่อหยุด

3.3.2.5 วัดค่าตัวอย่าง ใส่ตัวอย่างเข้าไปในเครื่อง และกดกดไฟเขียว รอประมาณ 10 วินาที และกดไฟแดงเพื่อหยุด ตัวอย่างอื่นๆ ให้ทำเช่นเดียวกัน

3.3.2.6 การจัดการข้อมูล เข้าไปที่ explorer , FLwinlab, data, เลือกไฟล์ และพิมพ์ผล

4. การปิดเครื่อง

4.1 ปิด Software, shutdown คอมพิวเตอร์ ปิดเครื่อง LS, UPS, พริ้นเตอร์ และ stabilizer

4.2 ทำความสะอาด cuvette โดยกลั้วด้วยน้ำยาล้างจาน และล้างด้วยน้ำประปา ตามด้วยน้ำกลั่น ห้ามใช้แปรงทำความสะอาด Cuvette

4.3 ลงบันทึกการใช้เครื่องมือทุกครั้ง

4.4 ทำความสะอาดเครื่องมือ และบริเวณที่ใช้งานให้เรียบร้อย

5. หนังสืออ้างอิง

6.1 คู่มือการใช้เครื่อง LS ยี่ห้อ Perkin elmer รุ่น LS50B

6.2 หลักการและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเครื่องมือ. แม้น อมรสิทธิ์ และ อมร เพชรสม. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2535.

Created by benzene

13 June 2009

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

Leave a Reply


four + 9 =