FT-IR Perkin Elmer Spectrum GX(43,005 views)

คู่มือการใช้เครื่องมือ Fourier Transform Infrared Spectrophotometer (FT-IR)

Perkin Elmer model Spectrum GX

FT-IR เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ พิสูจน์ เกี่ยวกับโมเลกุลของสาร ซึ่งสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ทั้ง ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ โดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่อยู่ในช่วงอินฟราเรด wave number อยู่ในช่วงประมาณ 12800 ถึง 10 cm-1 แบ่งย่อยได้เป็น 3 ช่วงคือ ช่วง Far IR (200-10 cm-1) Mid IR (4000-200 cm-1) และ Near IR (12800-4000 cm-1)

ในการใช้เครื่องมือผู้ใช้งานควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน ส่วนประกอบของเครื่องมือและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ และใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว มีผลการทดลองที่มีความถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนั้นยังเป็นการลดความเสียหายอันเกิดจาก การใช้เครื่องมือที่ผิดวิธี หากเกิดปัญหาในการใช้เครื่องมือ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที [...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

การประมาณค่าตัวคูณที่ใช้แก้ไขค่าความต้านแรงอัด(Correction Factor)สำหรับการทดสอบแท่งคอนกรีตซึ่งได้จากการเจาะ โดยวิธีการประมาณค่าในช่วงเชิงเส้น (Linear Interpolation) ด้วย Microsoft Excel(37,178 views)

ติงศักดิ์  เหลืองเจริญทิพย์

ฝ่ายห้องปฏิบัติการวิศวกรรม 2   ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Email: tingsak@sut.ac.th

1. บทนำ

การทดสอบความต้านแรงอัด (Compressive Strength) ของแท่งคอนกรีตรูปทรงกระบอกซึ่งได้จากการหล่อตัวอย่างคอนกรีตในแบบหล่อมาตรฐานนั้น  ส่วนใหญ่จะใช้แท่งทดสอบรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มม. ความสูง 300 มม. ส่วนแท่งทดสอบซึ่งได้จากการเจาะจากโครงสร้างคอนกรีตที่ได้ก่อสร้างไปแล้วนั้น ต้องเป็นรูปทรงกระบอกและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 100 มม. และความยาวของแท่งทดสอบเมื่อยังไม่เคลือบปลายทั้งสองต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของเส้นผ่านศูนย์กลาง (วิธีทดสอบความต้านแรงอัดของแท่งคอนกรีต มอก.409-2525)

กรณีที่แท่งทดสอบซึ่งได้จากการเจาะมีส่วนสูงน้อยกว่า 2 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง  ต้องแก้ไขค่าความต้านแรงอัดที่คำนวณได้  โดยใช้ตัวคูณที่ใช้แก้ไขค่าความต้านแรงอัด (Correction Factor) ตามตารางที่ 1   [...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

การปรับแก้ Load-Penetration Curve ของการทดสอบ CBR โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel(82,109 views)

ติงศักดิ์  เหลืองเจริญทิพย์

ฝ่ายห้องปฏิบัติการวิศวกรรม 2   ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Email: tingsak@sut.ac.th

1. บทนำ

การทดสอบตัวอย่างดินด้วยวิธี CBR (California Bearing Ratio ตามมาตรฐาน ASTM D-1883 และ AASHTO T-193) เป็นการเปรียบเทียบหน่วยแรง (unit load) ต้านทานแรงกดของตัวอย่างดินต่อหน่วยแรงต้านทานแรงกดของหินคลุกมาตรฐานบดอัด ซึ่งวิธีการทดสอบโดยสังเขปประกอบด้วยการกดตัวอย่างดินด้วยหัวกดมาตรฐาน (Penetration Piston) ด้วยอัตราการกด 0.05 นิ้ว/นาที (รูปที่ 1) บันทึกค่าแรงกด (Load) ที่ระยะจม (Penetration) ต่างๆของหัวกดตามมาตรฐานกำหนด

พล็อตเส้นโค้งผลการทดสอบระหว่างค่าหน่วยแรงกด (Unit load) กับ ระยะจม (Penetration) ของหัวกด (Load-Penetration Curve) ตามรูปที่ 2 เพื่อหาค่าหน่วยแรงกด ที่ ระยะจม 0.1 นิ้ว และ 0.2 นิ้ว นำไปคำนวณค่าเปอร์เซ็นต์ CBR ของแต่ละค่าพลังงานการบดอัด (Compaction effort) จากสมการต่อไปนี้ [...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

เทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft Excel คำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test)(47,631 views)

เทคนิคการใช้โปรแกรม Microsoft Excel คำนวณผลการทดสอบการบดอัดดิน (Compaction Test)

ติงศักดิ์
เหลืองเจริญทิพย์

ฝ่ายห้องปฏิบัติการวิศวกรรม 2 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Email: tingsak@sut.ac.th

1. บทนำ

ในการทดสอบการบดอัดดิน
(
Compaction Test) จะต้องทดลองบดอัดตัวอย่างดินด้วยวิธีการตามมาตรฐาน
(เช่น
ASTM D698 ASTM D1557 เป็นต้น) ที่ปริมาณความชื้นต่างๆกันประมาณ 4-5 ค่า
คำนวณความชื้นและความหนาแน่นแห้งของดินในการบดอัดตัวอย่างดินแต่ละครั้ง
แล้วพล็อตเส้นโค้งเรียบผ่านจุดที่ได้จากการทดลอง เพื่อหาความหนาแน่นแห้งสูงสุด (
maximum
dry density) และความชื้นที่เหมาะสม (optimum water content) [...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS