You are here: Home >Archive for July 3rd, 2012

Thermo Gravimetric Analysis (TGA)

คู่มือการใช้เครื่องมือ Thermo Gravimetric Analysis (TGA) model TA Instrument TGA เป็นเครื่องมือวิเคราะห์เชิงความร้อน คู่มือการใช้เครื่อง TGA ฉบับย่อนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ที่มีความสนใจ สามารถทำตามและใช้เครื่องมือได้อย่างง่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการใช้ให้มีความชำนาญขั้นสูงขึ้นโดยศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือฉบับเต็มรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษ และทดลองปฏิบัติควบคู่กันไปจะนำสัมฤทธิ์ผลมาสู่ผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี หัวข้อที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ การเปิดเครื่อง การใช้ software การจัดการข้อมูล และการปิดเครื่อง 1. การเปิดเครื่อง 2.1 เปิด ปั้มลมและ drain น้ำออก, UPS ตัวใหญ่ 2.2 หม้อแปลง(ด้านล่างเตาเผา), ตัวเครื่อง TGA สวิทซ์สีแดงทั้ง 2 2.3 แก๊สที่ต้องการใช้งาน No.1) ต่อ N2 และ 2) ต่อกับแก๊สอื่นๆ เช่น air 2.4 gas switching (ด้านหลัง) เลือก [...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

High Performance Liquid Chromatography (HPLC)

คู่มือการใช้เครื่องมือ High Performance Liquid Chromatography (HPLC) Water model Water 600 HPLC เป็นเทคนิคที่ใช้ในการแยกสารผสมที่อยู่ในสภาวะของเหลว ซึ่งอาศัยความแตกต่างของอัตราการเคลื่อนที่ของสารประกอบที่ผ่านไปในคอลัมน์(เฟสที่อยู่กับที่) โดยการชะหรือการพาของเฟสเคลื่อนที่ จำแนกได้อย่างกว้างตามกลไกการแยกได้ 4 ประเภท ได้แก่ Adsorption chromatography Partition chromatography Ion-exchange chromatography Size exclusion chromatography ข้อเด่นของ HPLC รุ่นนี้ สามารถแยกสารที่ปริมาณมากกว่า HPLC ทั่วไปได้ เพราะมีระบบ semi-prep ซึ่งเป็นการแยกในระดับกึ่งเตรียมตัวอย่างได้ ในการใช้เครื่องมือผู้ใช้งานควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน ส่วนประกอบของเครื่องมือและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ และใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว มีผลการทดลองที่มีความถูกต้องและแม่นยำ  นอกจากนั้นยังเป็นการลดความเสียหายอันเกิดจาก การใช้เครื่องมือที่ผิดวิธี หากเกิดปัญหาในการใช้เครื่องมือ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที คู่มือการใช้เครื่อง HPLC ฉบับย่อนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ที่มีความสนใจ สามารถทำตามและใช้เครื่องมือได้อย่างง่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการใช้ให้มีความชำนาญขั้นสูงขึ้นโดยศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือฉบับเต็มรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษ และทดลองปฏิบัติควบคู่กันไปจะนำสัมฤทธิ์ผลมาสู่ผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี หัวข้อที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ [...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

Ultra violet -Visible Spectrophotometer (UV-VIS)

คู่มือการใช้เครื่องมือ Ultra violet -Visible Spectrophotometer (UV-VIS) Varian model Cary1E Ultra violet -Visible Spectrophotometer (UV-VIS) เป็นเครื่องมือที่วัดค่าการดูดกลืนแสงที่อยู่ในช่วงอัลตร้าไวโอเลต และวิสิเบิ้ล ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 190 – 800 นาโนเมตร ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ สารประกอบเชิงซ้อน หรือสารอนินทรีย์ ทั้งที่มีสีและไม่มีสี การดูดกลืนแสงของสารต่างๆ เป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของสาร จึงสามารถวิเคราะห์ได้ในเชิงคุณภาพและปริมาณ เป็นเทคนิคที่ให้สภาพไวที่ดี และใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการใช้เครื่องมือผู้ใช้งานควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน ส่วนประกอบของเครื่องมือและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ และใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว มีผลการทดลองที่มีความถูกต้องและแม่นยำ  นอกจากนั้นยังเป็นการลดความเสียหายอันเกิดจาก การใช้เครื่องมือที่ผิดวิธี หากเกิดปัญหาในการใช้เครื่องมือ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที คู่มือการใช้เครื่อง UV-VIS ฉบับย่อนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ที่มีความสนใจ สามารถทำตามและใช้เครื่องมือได้อย่างง่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการใช้ให้มีความชำนาญขั้นสูงขึ้นโดยศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือฉบับเต็มรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษ และทดลองปฏิบัติควบคู่กันไปจะนำสัมฤทธิ์ผลมาสู่ผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี หัวข้อที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ การเตรียมตัวอย่าง การเปิดเครื่อง การใช้ software และการปิดเครื่อง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

Luminescence Spectrophotometer (LS)

คู่มือการใช้เครื่องมือ Luminescence Spectrophotometer (LS) Perkin Elmer model LS 50 B Luminescence Spectrophotometer (LS) เป็นเครื่องมือที่วัดค่าการเปล่งแสง (luminescence) ของสารบางชนิด โดยมีกระบวนการดูดดูดกลืนแสง (excitation) และคายแสง (emission) ที่อยู่ในช่วงอัลตร้าไวโอเลต และวิสิเบิ้ล ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 200 – 800 นาโนเมตร ค่า emission ของสาร เป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของสาร จึงสามารถวิเคราะห์ได้ในเชิงคุณภาพและปริมาณ เป็นเทคนิคที่ให้สภาพไวสูง และสามารถใช้ตรวจสอบหรือพิสูจน์ชนิดของสารได้ ในการใช้เครื่องมือผู้ใช้งานควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน ส่วนประกอบของเครื่องมือและหน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งจะทำให้เข้าใจการทำงานของเครื่องมือ และใช้เครื่องมือได้อย่างรวดเร็ว มีผลการทดลองที่มีความถูกต้องและแม่นยำ  นอกจากนั้นยังเป็นการลดความเสียหายอันเกิดจาก การใช้เครื่องมือที่ผิดวิธี หากเกิดปัญหาในการใช้เครื่องมือ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที คู่มือการใช้เครื่อง LS ฉบับย่อนี้จะเป็นแนวทางเบื้องต้นให้ผู้ที่มีความสนใจ สามารถทำตามและใช้เครื่องมือได้อย่างง่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการใช้ให้มีความชำนาญขั้นสูงขึ้นโดยศึกษาเพิ่มเติมจากคู่มือฉบับเต็มรูปแบบเป็นภาษาอังกฤษ และทดลองปฏิบัติควบคู่กันไปจะนำสัมฤทธิ์ผลมาสู่ผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างดี หัวข้อที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ การเตรียมตัวอย่าง การเปิดเครื่อง [...]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS